งานวิจัย


                           


                                  รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน
     เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
     นักศึกษา แผนก วิชาการโรงแรม   อุตสาหกรรมท่องเที่ยว  รหัสวิชา 2700 - 1001
                กรณีศึกษานักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1










โดย
นายประดิษฐ์ พันคลัง
ตำแหน่ง ครูพิเศษสอน





                                ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา  2560
แผนกวิชาการโรงแรมแรม  วิทยาลัยการอาชีพศรีสะเกษ
                                 สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา


กิตติกรรมประกาศ

                การจัดทำวิจัยฉบับนี้ได้รับความร่วมมือและความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากอาจารย์ที่ปรึกษาแผนก  การโรงแรม และคณะครูอาจารย์ผู้สอนในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ทุกท่าน ขอขอบคุณเจ้าของเอกสาร บทความ ทฤษฎี งานวิจัยต่างๆ และแผนกวิชาการบัญชีที่ให้ความช่วยเหลือในการค้นคว้าเอกสาร อ้างอิง พร้อมทั้งนักศึกษาแผนกวิชาการโรงแรม ที่ให้ความร่วมมือในการจัดทำวิจัยในครั้งนี้หากผิดพลาดประการใดผู้จัดทำพร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำเพื่อนำไปพัฒนางานและพัฒนาตนเองต่อไป



                                                                                              นายประดิษฐ์ พันคลัง
                                                                                                                                             20 กุมภาพันธ์ 2561

























บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักศึกษา ชั้นปีที่ 3 โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ ในวิชา การตลาดเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ระหว่างเรียนผู้วิจัยให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ประเมินการปฏิบัติการทดลองและการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ทำแบบทดสอบย่อยในแต่ละหัวข้อ สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ นักศึกษาประเมินตนเองและเพื่อนในการทำงานเป็นกลุ่ม และทำสังคมมิติเกี่ยวกับการทำงานกลุ่มก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือ ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่มีคะแนนหลังเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 8 คนเป็น 43 คน แตกต่างจากคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นักเรียนมีทักษะปฏิบัติการ ทักษะการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และมีคะแนนทดสอบท้ายคาบเรียนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นักศึกษาส่วนใหญ่พอใจกับการสอนรูปแบบนี้ มีการช่วยเหลือกลุ่ม ความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น การรับฟังความคิดเห็นหลังการเรียนแบบร่วมมือโดยเฉลี่ยสูงขึ้นและนักศึกษามีความสัมพันธ์ภายในห้องเรียนเพิ่มขึ้น




















                                                   บทที่ 1
                                                   บทนำ

หลักการและเหตุผล
จากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาของรายวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว พบว่าเมื่อให้นักศึกษาจัดกลุ่มกลุ่มละ 5 คน นักศึกษาจะเลือกอยู่กลุ่มเดียวกับเพื่อนที่ตนเองสนิท ขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนคนอื่นๆในห้อง เมื่อมอบหมายงานให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มทำงาน พบว่านักศึกษา ขาดการวางแผนการทำงาน นักศึกษาบางคนจึงไม่ทราบบทบาทและหน้าที่ของตนอย่างชัดเจน ภาระงานจึงตกอยู่ที่นักศึกษาบางคนในกลุ่มเท่านั้น ทำให้ส่งงานไม่ทันตามกำหนด และผลงานยังมีข้อบกพร่อง แต่เมื่อมอบหมาย
งานให้นักศึกษาทำคนเดียว  ผลงานของนักศึกษาส่วนใหญ่  จะมีข้อบกพร่องน้อยกว่าผลงานของกลุ่มแสดงให้เห็นว่านักศึกษายังขาดพฤติกรรมการทำงานร่วมกับผู้อื่นซึ่งทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาต่ำกว่าที่ควรจะได้รับการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นวิธีเรียนที่ช่วยให้นักศึกษาได้มีการพึ่งพาอาศัยกัน ทำให้นักศึกษามีสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่น มีการปรึกษากันอย่างใกล้ชิด สมาชิกแต่ละคนทราบบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และหาทางปรับปรุงวิธีการทำงานของกลุ่มให้ดีขึ้นเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน (วรรณทิพา, 2538; Johnson, Johnson and Hobulec, 1991; Slavin, 1995)
นอกจากนี้การเรียนแบบร่วมมือยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความสามารถของตนอย่างเต็มที่ สมาชิกที่อ่อนในกลุ่มจะได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จร่วมกันและพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้ (ดาวคลี่, 2543; แพรวพรรณ์, 2544; Back,1993   อ้างถึงใน สุวิมล, 2542; Theodora De Baz, 2001 )  

วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นของนักศึกษา ชั้นปีที่ 3  โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือในวิชาการตลาดเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ขอบเขตของการวิจัย
1. กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 3  โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือในวิชาการตลาดเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
2. ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรต้น คือ การเรียนแบบร่วมมือ ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น




นิยามศัพท์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความสามารถในการเรียนของนักศึกษา  ในวิชาการตลาดเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ซึ่งวัดได้จากคะแนนจากการทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบย่อยในแต่ละหัวข้อ แบบประเมินการปฏิบัติการทดลอง และแบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ หมายถึง พฤติกรรมการเรียนในการทำงานกลุ่ม ได้แก่
การช่วยเหลือกลุ่ม มีความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น รับฟังความคิดเห็น และสามารถระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองในการทำงานร่วมกับเพื่อนในกลุ่มได้ ตั้งแต่วางแผนการทำงาน การดำเนินตามแผนที่วางไว้ ตลอดจนการนำเสนอผลงาน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ โดยการสัมภาษณ์ แบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มในการทำงานเป็นกลุ่ม และแผนภาพสังคมมิติ
การเรียนแบบร่วมมือ หมายถึง วิธีการเรียนที่ส่งเสริมนักเรียนได้ร่วมมือกันในการเรียนเพื่อช่วยให้เกิดการเรียนรู้และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข โดยเน้นรูปแบบการต่อบทเรียน (Jigsaw) และการศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่ม (Group Investigation) ที่มีการประเมินทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินด้วย






















บทที่ 2
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ผู้ศึกษาค้นคว้าได้ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าโดย เรียงลำดับตามหัวข้อดังต่อไปนี้

           การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์
ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
               1  งานวิจัยภายในประเทศ
               2  งานวิจัยต่างประเทศ


การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
1.         ความหมายการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ (Co-operative Learning)
อารี สัณหฉวี (2543 : 33) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ หมายถึงเป็นวิธีการเรียนที่ให้นักเรียน
ทำงานด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อให้เกิดผลการเรียนรู้ทั้งทางด้านความรู้และทางด้านจิตใจ  ช่วยให้
นักเรียนเห็นด้านจิตใจคุณค่าในความแตกต่างระหว่างบุคคลของเพื่อนๆ เคารพความคิดเห็นและความ
สามารถของผู้อื่นที่แตกต่างจากตนตลอดจนรู้จักช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อน ๆ
               สลาวิน (พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. 2544 : 6 ; อ้างอิงมาจาก Slavin. 1977 : 3) กล่าวว่า การ
เรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ หมายถึง วิธีการสอนอีกแบบหนึ่ง ซึ่งกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถ
แตกต่างกันทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยปกติจะมี 4 คน เป็นนักเรียนที่เรียนเก่ง 1 คน เรียน
ปานกลาง 2 คน และเรียนอ่อน 1 คน การทดสอบของนักเรียนจะแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกจะ
พิจารณาค่าเฉลี่ยของทั้งกลุ่มตอนที่ 2 จะพิจารณาคะแนนทดสอบเป็นรายบุคคลโดยการทดสอบ
นักเรียนต่างคนต่างทำแต่เวลาเรียนต้องเรียนร่วมกัน รับผิดชอบงานของกลุ่มร่วมกัน โดยที่กลุ่มจะ
ประสบผลสำเร็จได้ เมื่อสมาชิกทุกคนได้เรียนรู้ บรรลุตามจุดมุ่งหมาย เช่นเดียวกัน
               มานพ ประธรรมสาร (2546 : 10) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ คือการทำงาน
ร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีอยู่ด้วยกัน ภายในกิจกรรมที่ร่วมทำนี้ แต่ละคนจะแสวงหาผลลัพธ์ที่เป็น
ประโยชน์ต่อตนเองและเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกคนอื่น ๆในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ ใช้ในการ
สอนกลุ่ม เล็ก ๆ ให้ทำงานร่วมกันตามที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีความเข้าใจ
ถูกต้องและทำงานจนเสร็จสมบูรณ์ สมาชิกทุกคนในกลุ่มได้รับประโยชน์จากความพยายามร่วมกัน
               สมบัติ  กาญจนารักพงค์ (2547 : 5) กล่าวว่า การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเป็นการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนร่วมมือและช่วยเหลือกันในการเรียนรู้ โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น
กลุ่มเล็กๆ 4 - 5 คน ที่มีความสามารถแตกต่างกันทำงานร่วมกันเพื่อเป้าหมายกลุ่มสมาชิกมีปฏิสัมพันธ์
ส่งเสริมซึ่งกันและกันรับผิดชอบร่วมกันทั้งในส่วนตนและส่วนรวม ผลงานของกลุ่มขึ้นอยู่กับผลงาน
ของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละคนคือความสำเร็จของกลุ่ม
           จากการศึกษาความหมายการเรียนแบบร่วมมือ สามารถสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยกลุ่ม
ร่วมมือกันเรียนรู้ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนใช้ความสามารถเฉพาะตัว
ในการร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ นักเรียนรู้จักวิธีการทำงานกลุ่มการช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดจน
มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายโดยสมาชิกในกลุ่มตระหนักว่าแต่ละคน
เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
2.         หลักการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
2.1 การทำงานเป็นชีวิตจริงเป็นการทำงานร่วมกับผู้อื่น ผู้เรียนจึงควรได้ฝึกการทำงาน
แบบร่วมมือเพื่อเป็นการเตรียมผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
               2.2 การทำงานเป็นทีมเป็นลักษณะหนึ่งของการทำงานของนักวิทยาศาสตร์
               2.3 การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนสอนทุกคนและต้องลงมือทำงานกับเพื่อนสมาชิกอย่างจริงจัง จึงเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางวิธีหนึ่ง
               2.4 การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมืออาจจัดเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบหรือเป็นกิจกรรมย่อยของวิธีสอนสังคมศึกษาแบบต่างๆ ได้อย่างดี
           3.  หน้าที่ครูของผู้สอน
               3.1 จัดผู้เรียนให้มีสมาชิกแตกต่างกัน กลุ่มละประมาณ 3 – 5 คน
               3.2 ทบทวนบทบาทการทำงานกลุ่ม หน้าที่ของสมาชิก การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
               3.3 ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเรียนให้เข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาในบทเรียนที่ต้องศึกษา
               3.4 ให้ความร่วมมือกลุ่มในการทำงาน
               3.5 ประเมินผล
           4.  ขั้นตอนการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
               4.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ใช้เวลาประมาณ 8 – 15 นาที เพื่อทบทวนเรื่องที่มาเรียนแล้วและทบทวนบทบาทสมาชิกภายในกลุ่ม
               4.2 ขั้นการทำงานกลุ่ม ใช้เวลา 25 – 30 นาที เป็นขั้นที่ครูแจกอุปกรณ์หรือสื่อการเรียน ผู้เรียนปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย ใช้เวลา 25 – 30 นาที เป็นขั้นที่ครู แจกอุปกรณ์หรือสื่อการเรียน ผู้เรียนปฏิบัติตามบทบาทที่ได้รับมอบหมาย
               4.3 ขั้นระดมสมอง ใช้เวลา 10 – 15 นาที เป็นการเสนอผลงาน เสนอแนะร่วมกันทั้งห้อง ให้แต่ละกลุ่มได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น โดยครูคอยถามให้ผู้เรียนเสนอความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และทั่วถึง
           5.  การประเมิน
               5.1 การเสนอผลงานของผู้เรียนด้วยวิธีต่าง ๆ
               5.2 การทดสอบ
               5.3 การสังเกตการณ์ทำงานของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
               5.4 การแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนในชั้นระดมสมอง
           6.  ข้อคำนึงถึงในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
               ครูควรคำนึงถึงกิจกรรมที่เอื้อต่อผู้เรียนให้มีบทบาทในการเรียน  มีส่วนร่วมในกิจกรรม
                   6.1 เป็นกิจกรรมที่เอื้อต่อการที่จะให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียน มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้มากและทั่วถึง
                   6.2 เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้ข้อมูลและเรียนรู้จากคนอื่นๆ ในกลุ่ม
                   6.3 เป็นกิจกรรมที่ต้องช่วยให้ผู้เรียนสามารถพบคำตอบด้วยตนเอง
                   6.4 เป็นกิจกรรมที่ต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการทำงานร่วมกัน ควบคู่กับผลงานที่ทำ
                   6.5 เป็นกิจกรรมที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารรถนำไปใช้ได้จริง
           7.  ประโยชน์ของการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ
                   7.1 บรรยากาศในการเรียนจะมีความเป็นกันเองมากขึ้น ผู้เรียนจะรู้สึกปลอดภัย
                   7.2 สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เรียน เพระสมาชิกทุกคนภายในกลุ่มรู้สึกว่าตนเอง                                                               มีความสำคัญต่อกลุ่มเท่ากัน ความเชื่อมั่นในตนเองก็จะถูกกระตุ้นให้เพิ่มมากขึ้น และช่วยแก้นิสัย      ขี้อายกับผู้เรียนบางคน
                   7.3 ฝึกความมีระเบียบวินัย

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์
           1.  ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์
               การจัดกิจกรรมการเรียนการเรียนรู้แบบจิกซอว์  เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ  ซึ่งนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้ดังนี้
    อรอนสัน (นาตยา ปิลันธนานนท์. 2537 : 209 - 210 ; อ้างอิงจาก Aronson. 1978 : abstract) ได้กล่าวถึงความหมายการเรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ ไว้ว่า เป็นแนวทางกิจกรรม  โดยเอาแนวคิดการต่อภาพจิกซอว์ มาใช้ โดยผู้สอนแบ่งนักเรียนในห้องออกเป็นกลุ่มๆละ  5 - 6 คน แต่ละกลุ่มให้มีสมาชิกเท่ากันทุกกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มมีความสามารถคละกัน ผู้สอนจะกำหนดงานแยกเป็นส่วน ๆ เท่ากับจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ของแต่ละกลุ่ม ให้สมาชิกแต่ละคนทำงาน ของตนไป
    สลาวิน (Slavin. 1995 : 26) ได้กล่าวถึงความหมายไว้ว่า การเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ได้รับการพัฒนาโดย อรอนสัน (Aronson) ซึ่งมีลักษณะคล้ายจิกซอว์ 2 แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่สำคัญหลายอย่างด้วยกันทั้งนี้ วิธีสอนโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ นักเรียนจะได้อ่านเนื้อหาที่แตกต่างกันไปจากเพื่อน ๆ ในกลุ่มทั้งนี้การเรียนแบบจิกซอว์ เนื้อหาที่ใช้ศึกษาจะถูกเขียนเรียบเรียงเป็นบทย่อย ๆ ขึ้นใหม่เพื่อให้ เข้าใจง่าย ซึ่งตรงข้ามกับจิกซอว์ 2 ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ศึกษามีความสัมพันธ์กันไม่ถูกแบ่งออกเป็นเนื้อหาย่อย ๆ
      สุมณฑา พรหมบุญ (2540 : 70 - 71) ได้กล่าวถึงการเรียนด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์(Jigsaw) ไว้ว่า เป็นกิจกรรมที่ครูมอบหมายให้สมาชิกในกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มศึกษาเนื้อหาในบทเรียนหรือเอกสารที่กำหนดให้ สมาชิกแต่ละคนจะถูกกำหนดให้ศึกษาเนื้อหาคนละตอนแตกต่างกันคนเรียนเร็วและอ่านเร็วอาจจัดให้ศึกษาเนื้อหามากกว่าคนเรียนช้า อ่านช้านักเรียนที่ศึกษาหัวข้อเดียวกันจากทุก ๆ กลุ่มจะร่วมกันเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ หลังจากที่ทุกคนศึกษาเนื้อหาจนเข้าใจ และร่วมกันคิดหาวิธีอธิบายให้เพื่อนนักเรียนในกลุ่มประจำของตนฟังแล้ว นักเรียนแต่ละคนจะกลับมายังกลุ่มประจำของตน สมาชิกที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาหน้าต้นๆหรือโจทย์ข้อแรกจะเป็นคนเล่าเรื่องที่ตนศึกษา ให้สมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มฟัง ทำเช่นเดียวกันนี้โดยการเรียงลำดับไปจนถึงหน้าสุดท้ายหรือโจทย์   ข้อสุดท้าย จึงขอให้สมาชิกคนใดคนหนึ่งสรุปเนื้อหาของสมาชิกทุกคนเข้าด้วยกันครูควรทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนในช่วงสุดท้ายของการเรียนและให้รางวัล
      ไสว  ฟักขาว (2542 : 135)  กล่าวถึงการสอนโดยแบบจิกซอว์ไว้ว่า  เป็นการสอนที่อาศัยแนวคิดการต่อภาพ  ผู้เสนอวิธีนี้เป็นคนแรกคือ  Elliot Aronson  และคณะ  ต่อมามีการปรับและเพิ่มเติมขั้นตอน  แต่วิธีหลักยังคงเดิม  การสอนแบบนี้นักเรียนแต่ละคนจะได้ศึกษาเพียงส่วนหนึ่ง หรือหัวข้อย่อยของเนื้อหาทั้งหมด  โดยการศึกษาเรื่องนั้น ๆ จากเอกสารหรือกิจกรรมที่ครูจัดให้      ในตอน ที่ศึกษาหัวย่อยนั้น  นักเรียนจะทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนที่ได้รับมอบหมายให้ศึกษาใน    หัวข้อย่อยเดียวกัน  และเตรียมพร้อมที่จะกลับไปอธิบายหรือสอนเพื่อนสมาชิกในกลุ่มพื้นฐานของตนเอง 
               สมศักดิ์  ภู่วิภาดาวรรธน์ (2544 : 21) กล่าวถึงวิธีการติดต่อภาพ  ไว้ว่า  วิธีนี้คิดขึ้นโดย  Elliot Aronson  และคณะ  เป็นวิธีง่ายๆ เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกถึงความรับผิดชอบที่ตนมีต่อกลุ่ม  โดยการแต่งตั้งให้ผู้เรียนแต่ละคนเป็น  ผู้เชี่ยวชาญ” (Expert) ในแต่ละสาขา   ที่มอบหมายและ ผู้เชี่ยวชาญ นั้นต้องมาสอนคนอื่น ๆ ในทีมในเรื่องที่ตนรู้      
               วัฒนาพร  ระงับทุกข์ (2545 : 176) ได้อธิบายถึง  ปริศนาความคิดไว้ว่า  เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ  และการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเพื่อนในกลุ่ม  เทคนิคนี้ใช้กันมากในรายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนเนื้อหาวิชาจากตำราเรียน (เช่น  สังคมศึกษา  ภาษาไทย)       
    สุวิทย์  มูลคำ  และอรทัย  มูลคำ (2545 : 177 - 181) กล่าวว่า  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์  เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้แนวคิดการต่อภาพ  โดยแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม          ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน  ผู้สอนจะแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะให้เรียนรู้ออกเป็นหัวข้อย่อย  เท่ากับจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม  และมอบหมายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มศึกษา  ค้นคว้าคนละหัวข้อ  ซึ่งผู้เรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนได้รับมอบหมายให้ศึกษาจากกลุ่ม  สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันก็จะทำการศึกษาค้นคว้าร่วมกัน  จากนั้นผู้เรียนแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตนเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้เชี่ยวชาญอธิบายความรู้  เนื้อหาสาระ    ที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง  เพื่อให้เพื่อนสมาชิกทั้งกลุ่มได้รู้เนื้อหาสาระครบทุกหัวข้อย่อยและเกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระทั้งเรื่อง
  จากการศึกษาความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบจิกซอว์ สรุปได้ว่าเป็นการจัดให้ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน กลุ่มละ 3 - 5 คน เรียนรู้ร่วมกัน โดยครูแบ่งบทเรียนออกเป็นเรื่องย่อย ๆ เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม สมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งหัวข้อ         ในการศึกษาคนละหัวข้อ แล้วให้สมาชิกที่ศึกษาหัวข้อเดียวกันของทุกกลุ่มไปศึกษาและอภิปราย
ร่วมกันจนเกิดความเข้าใจดีแล้ว จึงกลับไปรายงานผลให้สมาชิกในกลุ่มฟังทีละหัวข้อจนครบถ้วน
เมื่อจบบทเรียนครูจะทำการทดสอบความรู้ และให้รางวัลเป็นการเสริมแรง
           2.  วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์
               การจัดการเรียนการสอนทุกรูปแบบการสอน  จะต้องมีวัตถุประสงค์ว่าจัดกิจกรรมขึ้นมาเพื่ออะไร  ได้มีนักวิชาการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนแบบจิกซอว์  ดังนี้
               ณัฐวุฒิ  กิจรุ่งเรือง (2545 : 34)  กล่าวว่า  การสอนแบบจิกซอว์  เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการถ่ายทอดความรู้ระหว่างเพื่อนในกลุ่ม  นิยมใช้การสอนแบบนี้       ในรายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนเนื้อหาวิชาจากตำราเรียน  เช่น  สังคมศึกษา  ภาษาไทย
               สุวิทย์  มูลคำ  และอรทัย  มูลคำ (2545 : 177) กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ไว้ 2 ข้อคือ 
                       1.  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษา  ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง
                   2.  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการทางสังคม  และความรับผิดชอบ
               จากวัตถุประสงค์ที่กล่าวมานั้น  สรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์  เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง  ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  นักเรียนได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่กัน  และมีความรับผิดชอบในการทำงานร่วมกัน
3.  องค์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์
               นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงองค์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์  ดังนี้
               ไสว  ฟักขาว (2542 : 135) กล่าวว่า  องค์ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์  มีดังนี้
                   1. การเตรียมสื่อการเรียนการสอน (Preparation of Materials) ครูสร้างใบงานให้
ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนของกลุ่ม  และสร้างแบบทดสอบย่อยในแต่ละหน่วยการเรียน  แต่ถ้ามีหนังสือเรียนอยู่แล้วยิ่งทำให้ง่ายขึ้นได้  โดยแบ่งเนื้อหาในแต่ละหัวข้อเรื่องที่จะสอนเพื่อทำใบงานสำหรับผู้เชี่ยวชาญ  ในใบงานควรบอกว่านักเรียนต้องทำอะไร  เช่น  ให้อ่านหนังสือหน้าอะไร  อ่านหัวข้ออะไร  จากหนังสือหน้าไหนถึงหน้าไหน  หรือให้ดูวีดิทัศน์  หรือให้ลงมือปฏิบัติการทดลอง  พร้อมกับมีคำถามให้ตอบตอนท้ายของกิจกรรมที่ทำด้วย
                   2.  การจัดสมาชิกของกลุ่มและของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Teams and Expert Groups)      ครูจะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ (Home Group) แต่ละกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องตามใบงาน ของตนก่อนที่จะแยกไปตามกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Groups) เพื่อทำงานตาม  ใบงานนั้นๆ      เมื่อนักเรียนพร้อมที่จะทำกิจกรรม  ครูแยกกลุ่มนักเรียนใหม่ตามใบงาน  กิจกรรมในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกัน  ครูพยายามกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาหัวข้อตามใบงานที่แตกต่างกัน  ดังนั้นใบงานที่ครูสร้างขึ้นจึงมีความสำคัญมาก  เพราะในใบงานจะนำเสนอด้วยกิจกรรมที่แตกต่างกัน           ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่มอาจจะลงมือปฏิบัติการทดลอง  ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย   พร้อมกับเตรียมการนำเสนอสิ่งนั้นๆอย่างสั้นๆ เพื่อว่าเขาจะได้นำกลับไปสอนสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาในหัวข้อดังกล่าว
                   3.  การรายงานและการทดสอบย่อย (Reports and Quizzes) เมื่อกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ     แต่ละกลุ่มทำงานเสร็จแล้ว  ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนก็จะกลับไปยังกลุ่มเดิมของตัวเอง (Home Groups) แล้วสอนเรื่องที่ตัวเองทำให้กับสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่ม  ครูกระตุ้นให้นักเรียนใช้วิธีการต่างๆ ในการนำเสนอสิ่งที่จะสอน  นักเรียนอาจใช้วิธีการสาธิต  อ่านรายงาน  ใช้คอมพิวเตอร์  รูปถ่ายไดอะแกรม  แผนภูมิหรือภาพวาดในการนำเสนอความคิดเห็น  ครูกระตุ้นให้สมาชิก  ในกลุ่มได้มีการอภิปรายและซักถามปัญหาต่างๆ โดยที่สมาชิกแต่ละคนต้องมีความรับผิดชอบในการเรียนรู้แต่ละเรื่องที่ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคนนำเสนอ
               เมื่อผู้เชี่ยวชาญได้รายงานผลงานกับกลุ่มของตัวเองแล้ว  ควรมีการอภิปรายร่วมกันทั้งห้องเรียนอีกครั้งหนึ่ง  หรือมีการถามคำถาม  และตอบคำถามในหัวข้อเรื่องที่เชี่ยวชาญแต่ละคน        ได้ศึกษา  หลังจากนั้นครูก็ทำการทดสอบ            
               สุวิทย์  มูลคำ  และอรทัย  มูลคำ (2545 : 178) กล่าวว่า  การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคจิกซอว์  มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน  คือ
          1.  การเตรียมสื่อการเรียนรู้  ผู้สอนจะต้องเตรียมใบงาน  ใบความรู้ สื่อการเรียนรู้อื่น ๆ สำหรับผู้เชี่ยวชาญแต่ละกลุ่ม  และสร้างแบบทดสอบย่อยในในแต่ละหน่วยการเรียน
          2.  การจัดสมาชิกของกลุ่ม  ผู้สอนจะต้องแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆ เรียกว่า         กลุ่มพื้นฐาน” (Home Groups) แต่ละกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญ แต่ละเรื่องตามใบงานที่ผู้สอนสร้างขึ้น
          3.  การรายงานและทดสอบย่อย  เมื่อผู้เชี่ยวชาญกลับเข้ากลุ่มตัวเองและสอนเรื่องที่ตนเองได้เรียนรู้มาสอนหรือรายงานให้กับสมาชิกในกลุ่มแล้ว  ควรมีการอภิปรายกันทั้งห้องเรียนอีกครั้งหรือมีการถามตอบในหัวข้อเรื่องที่เรียนรู้  หลังจากนั้นผู้สอนทำการทดสอบย่อยและประเมินให้คะแนน
           จากที่กล่าวมานั้นสรุปได้ว่า  องค์ประกอบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์นั้น  ครูผู้สอนจะต้องเตรียมสื่อต่างๆ ให้สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เพียงพอ  และแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ โดยแต่ละกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่องตามใบงานของตนก่อนที่จะแยกไปตามกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อทำงานตาม ใบงานนั้นๆ แล้วจะได้นำความรู้ที่ได้กลับไปสอนสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มที่ไม่ได้ศึกษาในหัวข้อดังกล่าว  เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้วประเมินผลโดยการทดสอบย่อย
4.  ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์
               การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์มีหลายขั้นตอน  ซึ่งนักวิชาการได้กล่าวถึงขั้นตอนดังต่อไปนี้
               กรมสามัญศึกษา (2540 : 42 - 43) ได้เสนอขั้นตอนในการดำเนินการการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบจิกซอว์ ดังนี้
         1. ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยๆให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม
                   2. จัดกลุ่มนักเรียนกลุ่มละประมาณ 4 คน โดยให้สมาชิกของกลุ่มมีความสามารถคละกัน กลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มประจำ
                   3. มอบหมายให้สมาชิกแต่ละคน อ่าน/ศึกษาหัวข้อย่อยที่จัดแบ่งไว้ เช่น ในกลุ่ม A มี
สมาชิกเป็นจำนวน A1, A2 , A3 และ A4
                       นักเรียน A1 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 1
                       นักเรียน A2 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 2
                       นักเรียน A3 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 3
                       นักเรียน A4 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 4
                       กลุ่มอื่นๆ ที่เหลือก็ดำเนินการมอบหมายรับผิดชอบในลักษณะเดียวกัน
                   4. ให้นักเรียนที่อ่านหัวข้อ/หัวเรื่องเดียวกัน แยกออกมารวมกันเป็นกลุ่มชั่วคราว   เพื่ออภิปราย ซักถามและทำกิจกรรมร่วมกันให้เกิดความรอบรู้ในหัวข้อเรื่องนั้นๆกลุ่มใหม่นี้เราเรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีนี้ถ้ามีกลุ่มประจำอยู่ 4 กลุ่ม คือ กลุ่ม A , B , C และ D
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ 1 ก็จะประกอบด้วยสมาชิก A1 , B1 , C1 , และ D1
กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ 2 ก็จะประกอบด้วยสมาชิก A2 , B2 , C2 , และ D1 อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
                   5. มอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เช่น
นักเรียนคนที่ 1 อ่านคำถาม/คำสั่ง/คำชี้แจง
นักเรียนคนที่ 2 จดบันทึกข้อมูลสำคัญที่กำหนดให้ และอธิบายว่ากลุ่มจะต้องทำอะไร
นักเรียนคนที่ 3 หาคำตอบ/เหตุผล/คำอธิบาย
นักเรียนคนที่ 4 สรุปทบทวนและตรวจสอบคำตอบอีกทีหนึ่ง
เมื่อนักเรียนทำแต่ละข้อ (ประเด็น) เสร็จแล้วให้นักเรียนหมุนเวียนเปลี่ยนหน้าที่กันครบทุกข้อ (ประเด็น)
                   6. นักเรียนในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญแยกตัวกลับไปยังกลุ่มประจำของตน แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม(ในข้อ5)ให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟังตามลำดับหัวข้อย่อย      โดยเริ่มจากหัวข้อที่ง่ายและเป็นความรู้พื้นฐานก่อน
                   7. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบย่อย เพื่อวัดความรู้ทุกหัวข้อย่อย (เป็นการสอบเดี่ยว)แล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนมารวมกันเป็น คะแนนของกลุ่ม
                   8. กลุ่มที่ได้คะแนนรวม (หรือค่าเฉลี่ย) สูงสุด จะได้รับการยกย่อง ชมเชยอาจจะเขียน
ติดป้ายประกาศ ไว้ที่บอร์ดของห้อง และบันทึกสถิติไว้เพื่อมอบรางวัลเป็นระยะๆ        
กระทรวงศึกษาธิการ (2547 : 114 - 115) ได้แบ่งขั้นตอนกิจกรรมการเรียนการสอน   โดยใช้เทคนิคจิกซอว์  ดังนี้
                   1.  ผู้สอนแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยเท่ากับจำนวนสมาชิกของแต่ละกลุ่ม
                   2.  จัดกลุ่มผู้เรียนโดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่ม  เป็นกลุ่มบ้าน  สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มอ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตนได้รับมอบหมายเท่านั้น  โดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด
                   3.  ผู้เรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน  เพื่อทำงาน ซักถาม  และทำกิจกรรม  ซึ่งเรียกว่ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ สมาชิกทุกๆคนร่วมกันอภิปรายหรือทำงาน  อย่างเท่าเทียมกัน  โดยใช้เวลาตามที่ผู้สอนกำหนด
                   4.  ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มเชี่ยวชาญ  กลับมายังกลุ่มบ้านของตน  จากนั้นผลัดเปลี่ยนกันอภิปราย  ให้เพื่อนสมาชิกในกลุ่มฟัง  เริ่มจากหัวข้อย่อย 1,2,3 และ 4
                   5.  ทำการทดสอบหัวข้อย่อย 1- 4 กับผู้เรียนทั้งห้อง  คะแนนของสมาชิกแต่ละคน   ในกลุ่มรวมเป็นคะแนนกลุ่ม  กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะได้รับการติดประกาศ    


              ทิศนา  แขมมณี (2548 : 266)  กล่าวถึงกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบจิกซอว์  ดังนี้ 
                   1. จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่งกลางอ่อน) กลุ่มละ 4 คนและเรียก  กลุ่มนี้ว่ากลุ่มบ้านของเรา (Home Group)
                    2. สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา  ได้รับมอบมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
                   3. สมาชิกในกลุ่มบ้านเรา  แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่น  ซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน  ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  ขึ้นมาและร่วมกันทำความเข้าใจในสาระนั้นอย่างละเอียด  และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้
                   4. สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา  แต่ละคนช่วยสอนเพื่อน      ในกลุ่มให้เข้าใจในสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  เช่นนี้  สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของสาระทั้งหมด
                   5. ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ  แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล  และนำคะแนนของทุกคนในกลุ่มบ้านของเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนกลุ่ม  กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด  ได้รับรางวัล
            ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนรู้แบบจิกซอว์ มีดังนี้
               ข้อดี
                   1. ผู้เรียนมีความเอาใจใส่ รับผิดชอบตัวเองและกลุ่มร่วมกับสมาชิกอื่น
                   2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน
                   3. ส่งเสริมให้ผู้เรียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำ
                   4. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคมโดยตรง
               ข้อจำกัด
                   1. ผู้เรียนขาดความเอาใจใส่และรับผิดชอบจะส่งผลให้ผลงานกลุ่มและการเรียนรู้   ไม่ประสบความสำเร็จ
                   2. เป็นวิธีการที่ผู้สอนจะต้องใช้เวลาในการเตรียมการและต้องดูแล ช่วยเหลือ         เอาใจใส่ในกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างใกล้ชิด
           สรุปได้ว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์นั้น  ผู้สอนจะต้องเตรียมเนื้อหาไว้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้  และเรียนรู้โดยการแบ่งกลุ่มคละความสามารถ ผู้เรียนแต่ละคนรับผิดชอบงานที่ตนเองได้รับมอบหมาย  นักเรียนที่เรียนเก่งจะช่วยเหลือนักเรียนที่เรียนอ่อนในการศึกษาหาความรู้  เพื่อให้ผลงานของกลุ่มสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้มีการทดสอบความรู้หลังเรียนคะแนนรายบุคคลรวมเป็นคะแนนของกลุ่ม  กลุ่มที่ได้คะแนนมากจะได้รับรางวัล   
           รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์
               วิมลรัตน์ สุนทรวิโรจน์ (2551 : 24 - 25) ได้เสนอรูปแบบการเรียนรู้แบบต่อภาพมี 2 รูปแบบดังนี้
               รูปแบบที่ 1 (Jigsaw I)
                   การเรียนรู้แบบ Jigsaw I เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือและถ่ายทอดความรู้ระหว่างกลุ่ม เป็นเทคนิคที่ใช้กันมากในรายวิชาที่ผู้เรียนต้องเรียนเนื้อหาวิชาจากตำราเรียน (เช่น สังคมศึกษา ภาษาไทย) ขั้นตอนกิจกรรมประกอบด้วย
                       1. ครูแบ่งเนื้อหาที่จะเรียนออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกกลุ่ม
                       2. จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีความสามารถคละกัน เรียนว่ากลุ่มบ้านแล้วมอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนศึกษาหัวข้อที่ต่างกัน
                       3.  ผู้เรียนได้รับหัวข้อเดียวกันจากแต่ละกลุ่มมานั่งด้วยกันเพื่อทำงาน
และศึกษาร่วมกันในหัวข้อดังกล่าว เรียกว่ากลุ่มเชี่ยวชาญ
                       4. สมาชิกแต่ละคนออกจากกลุ่มเชี่ยวชาย และกลับไปกลุ่มเดิมของตนผลัดกัน
อธิบายเพื่อถ่ายทอดความรู้ที่ตนศึกษาให้เพื่อนฟังจนครบทุกหัวข้อ
                       5. ครูทดสอบเนื้อหาที่ศึกษาแล้วให้คะแนนรายบุคคล
               รูปแบบที่ 2 (Jigsaw 2)
การเรียนรู้แบบ Jigsaw II เป็นเทคนิคที่พัฒนาขึ้นจากเทคนิคเดิม โดยมีจุดมุ่งหมาย
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมช่วยเหลือกัน และพึ่งพากันในกลุ่มมากขึ้นกระบวน Jigsaw II เหมือนเดิมทุกประการ เพียงแต่ในช่วงของการประเมินผล ครูจะนำคะแนนทุกคนในกลุ่มมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนรวมหรือค่าเฉลี่ยสูงสุดจะติดประกาศไว้ที่ป้ายประกาศของห้อง
ผู้เรียนเข้าร่วมในวิธีการนี้จะแบ่งเป็นทีม โดยมีสมาชิกที่คละเคล้ากัน เช่นเดียวกับทีม
ใน TGT และ STAD ผู้เรียนแต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้อ่านเนื้อเรื่องที่กำหนดและได้รับ
หัวข้อสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ต้องการศึกษาโดยละเอียด เมื่อผู้เรียนทุกคนอ่านเนื้อหาเนื้อเรื่องจบใน
หัวข้อเดียวกันของแต่ละกลุ่ม จะรวมกันอภิปรายในหัวข้อนั้นโดยใช้เวลาประมาณ 30 นาทีหลังจาก
นั้น ผู้เชี่ยวชาญก็จะกลับมายังทีมของตนเพื่ออธิบายในส่วนที่ตนรู้ให้คนอื่น ๆฟัง และในที่สุดผู้เรียน
ทุกคนต้องตอบข้อสอบที่ออกคลุมเนื้อหาทุกหัวข้อ คะแนนที่ผู้เรียนได้มาจะใช้รวมเป็นคะแนนของ
ทีม เช่นเดียวกับ STAD และอาจมีคะแนนพิเศษให้ผู้เรียนคนที่ทำคะแนนได้ดีเกินคาด ดังนั้น
ผู้เรียนทุกคนต้องศึกษาในหัวข้อของตนให้ดี เพื่อจะได้ช่วยทำให้เพื่อนในทีมทำคะแนนสอบได้ดี
หัวใจสำคัญของ Jigsaw คือ การพึ่งพาซึ่งกันและกัน ผู้เรียนทุกคนต้องพึ่งพาความรู้จากผู้เรียนคน
อื่นๆ เพื่อจะได้ทำข้อสอบได้ดี
           ขั้นตอนการดำเนินการสอนแบบ Jigsaw มีดังนี้
               1. ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อย ๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกของนักเรียน         แต่ละกลุ่ม
               2. จัดกลุ่มนักเรียนกลุ่มละประมาณ 4 คน โดยให้สมาชิกของกลุ่มมีความสามารถคละกัน กลุ่มนี้เรียก กลุ่มประจำ ( Home Groups หรือ Original Group)
               3. มอบหมายให้สมาชิกแต่ละคน อ่าน/ศึกษาหัวข้อย่อยที่จัดแบ่งให้ เช่น ในกลุ่ม A มีสมาชิก A1, A2, A3, A4
นักเรียน A1 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 1
นักเรียน A2 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 2
นักเรียน A3 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 3
นักเรียน A4 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 4
                   กลุ่มอื่นๆที่เหลือดำเนินการมอบหมายความรับผิดชอบในลักษณะเดียวกัน
               4. ให้นักเรียนที่อ่านหัวข้อ/หัวเรื่องเดียวกัน แยกออกมาร่วมกันเป็นกลุ่มใหม่นี้
เรียกว่า กลุ่มเชี่ยวชาญ (Expert Group หรือ Mastery Group) ในกรณีนี้ถ้ามีกลุ่มประจำอยู่ 5 กลุ่ม
คือ A, B, C, D และ E
                   กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ 1 ก็จะประกอบด้วยสมาชิก A1, B1,C1,D1 และ E1
                   กลุ่มผู้เชี่ยวชาญกลุ่มที่ 2 ก็จะประกอบด้วยสมาชิก A2, B2,C2,D2 และ E2
อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ
               5. มอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนในกลุ่มเชี่ยวชาญ เช่น
                       นักเรียนคนที่ 1 อ่านคำถาม/คำสั่ง/คำชี้แจง
                       นักเรียนคนที่ 2 จดบันทึกข้อมูลสำคัญที่กำหนดให้ และอธิบายว่ากลุ่ม
จะต้องทำอะไร
  นักเรียนคนที่ 3 และ 4 ทำคำตอบ/เหตุผล/คำอธิบาย
                       นักเรียนคนที่ 5 สรุปทบทวนและตรวจสอบคำตอบอีกครั้ง
               6. นักเรียนในกลุ่มเชี่ยวชาญ แยกตัวกลับไปยังกลุ่มประจำของตน แล้วผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม (ในข้อ 5) ให้เพื่อนสมาชิกของกลุ่มฟังตามลำดับหัวข้อย่อย โดยเริ่มจากหัวข้อที่ง่ายหรือเป็นความรู้พื้นฐานก่อน
               7. นักเรียนทุกคนทำแบบทดสอบย่อย (Quiz) เพื่อวัดความรู้ทุกหัวข้อย่อย(เป็นการสอบเดี่ยว) แล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนมาร่วมกันเป็นคะแนนของกลุ่ม                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                         8. กลุ่มที่ได้คะแนนรวม (ค่าเฉลี่ย) สูงสุด จะได้รับการยกย่องชมเชย อาจจะเขียนติดประกาศไว้ที่บอร์ดของห้อง และบันทึกสถิติไว้เพื่อมอบรางวัลเป็นระยะๆ
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ความหมายของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
    วัฒนาพร  ระงับทุกข์  (2542 : 1 - 2) ได้กล่าวไว้ว่า แผนการเรียนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ครูผู้สอนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักในการจัดทำแผนการสอน ซึ่งมีความสำคัญดังนี้
        1. ก่อให้เกิดการวางแผนและเตรียมการล่วงหน้า เป็นการนำเทคนิควิธีการสอน     การเรียนรู้ สื่อเทคโนโลยี และจิตวิทยาการเรียนการสอนมาผสมผสานประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม       กับสภาพแวดล้อมด้านต่างๆ
2. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร เทคนิคการเรียนการสอน
การเลือกใช้สื่อ การวัดและการประเมินผลตลอดจนประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องจำเป็น
                   3. เป็นคู่มือการสอนสำหรับตัวครูผู้สอนและครูที่สอนแทน นำไปใช้ปฏิบัติการสอน
อย่างมั่นใจ
                   4. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลด้านการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลที่เป็น
ประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนต่อไป
5. เป็นหลักฐานแสดงความเชี่ยวชาญของครูผู้สอน ซึ่งสามารถนำไปเสนอเป็นผลงาน
ทางวิชาการได้
    ณัฐวุฒิ  กิจรุ่งเรือง และคณะ (2545 : 53) กล่าวว่า แผนการเรียนรู้ หมายถึง การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง ให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่หลักสูตรกำหนด แผนการจัดการเรียนรู้มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan) และระดับบทเรียน (Lesson Plan)
    รุจิร์  ภู่สาระ (2545 : 159) ได้กล่าวไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการ
เรียนรู้เป็นเครื่องมือแนวทางในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ผู้เรียนตามที่กำหนดไว้ในสาระการ
เรียนรู้ของแต่ละกลุ่ม แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องสามารถตอบคำถามได้ ดังนี้
                   1. ให้นักเรียนมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์อะไรบ้าง
                   2. จะเสริมสร้างกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนอะไรบ้าง จึงจะทำให้นักเรียนบรรลุผล        ตามจุดประสงค์
        3. ครูจะต้องมีบทบาทอย่างไรในการจัดกิจกรรม
                   4. จะใช้สื่อ/อุปกรณ์อะไรจึงจะช่วยให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์
                   5. ได้อย่างไรว่านักเรียนเกิดคุณสมบัติตามที่คาดหวังไว้
    สุวิทย์  มูลคำ และคณะ (2549 : 58) ได้กล่าวไว้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง
แผนการเตรียมการสอนหรือการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบและจัดทำไว้
เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆมากำหนดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้
ผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยเริ่มจากการกำหนดวัตถุประสงค์จะให้ผู้เรียนเกิดการ
เปลี่ยนแปลงด้านใด (สติปัญญา / เจตคติ / ทักษะ) จะจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิธีใด ใช้สื่อ        การสอนหรือแหล่งเรียนรู้ใด และจะประเมินผลอย่างไร
สรุปได้ว่า แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการหรือโครงสร้างที่จัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อการปฏิบัติการสอนในวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างเป็นระบบ และเป็นเครื่องมือที่ช่วย ให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร อย่างมีประสิทธิภาพ
    สุวิทย์ มูลคำ และคณะ (2549 : 58)  ได้กล่าวถึงความสำคัญของการจัดทำแผนการ จัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
    1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีสอนที่ดี วิธีเรียนที่ดี ที่เกิดจากการผสมผสานความรู้
และจิตวิทยาการศึกษา
                   2. ช่วยให้ครูผู้สอนมีเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ที่ทำไว้ล่วงหน้าด้วยตนเอง
และทำให้ครูมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ได้ตามเป้าหมาย
                   3. ช่วยให้ครูผู้สอนทราบว่าการสอนของตนได้เดินไปในทิศทางใด หรือทราบว่า
จะสอนอะไร ด้วยวิธีใด สอนทำไม สอนอย่างไร จะใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้อะไรและจะวัดและ
ประเมินผลอย่างไร
        4. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนใฝ่ศึกษาหาความรู้ ทั้งเรื่องหลักสูตร วิธีจัดการเรียนรู้
จะจัดหาและใช้สื่อ แหล่งเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผล
                   5. ใช้เป็นคู่มือสำหรับครูที่มาสอน (จัดการเรียนรู้) แทนได้
        6. แผนการจัดการเรียนรู้ที่นำไปใช้และพัฒนาแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อวงการศึกษา
        7. เป็นผลงานทางวิชาการที่แสดงถึงความชำนาญและความเชี่ยวชาญของครูผู้สอน
สำหรับประกอบการประเมินเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งและวิทยฐานะครูให้สูงขึ้น
ประโยชน์ของการทำแผนการจัดการเรียนรู้
    ณัฐวุฒิ  กิจรุ่งเรือง และคณะ (2545 : 53 - 54) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการทำแผน
การจัดการเรียนรู้ไว้ดังนี้
1. เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องของการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร
        2. เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความถนัด ความสนใจ และความ
ต้องการของผู้เรียน
        3. เพื่อสามารถเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และแหล่งเรียนรู้ให้พร้อมก่อนทำการสอนจริง
        4. เพื่อให้ผู้สอนมีความมั่นใจเละเชื่อมั่นในการจัดการเรียนรู้
        5. เพื่อให้เกิดการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนรู้จากข้อจำกัดที่พบ
                   6. เพื่อให้ผู้อื่นสอนแทนได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น
                   7. เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับพิจารณาผลงานและคุณภาพในการปฏิบัติการสอน
        8. เพื่อเป็นเครื่องบ่งชี้ความเป็นวิชาชีพของครูผู้สอน (แผนจัดการเรียนรู้เป็น
ลักษณะเฉพาะของวิชาชีพ)
ลักษณะของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี
    แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้ (สุวิทย์ มูลคำ และคณะ. 2549 : 59)
                   1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ไว้ชัดเจน (ในการสอนเรื่องนั้นๆ ต้องการให้
ผู้เรียนเกิดคุณสมบัติอะไร หรือด้านใด)
                   2. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนไว้ชัดเจน และนำไปสู่ผลการเรียนรู้ตาม
จุดประสงค์ได้จริง (ระบุบทบาทของครูผู้สอนและผู้เรียนไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องทำอะไรจึงจะทำให้
การเรียนการสอนบรรลุผล)
                   3. กำหนดสื่ออุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ไว้ชัดเจน (จะใช้สื่อ อุปกรณ์หรือแหล่ง
เรียนรู้อะไรช่วยบ้าง และจะใช้อย่างไร)
                   4. กำหนดวิธีวัดและประเมินผลไว้ชัดเจน (จะใช้วิธีการและเครื่องมือในการวัดและ
ประเมินผลใด เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้นั้น)
                   5. ยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ (ในกรณีที่มีปัญหาเมื่อมีการนำไปใช้ หรือไม่สามารถ
กำหนดการจัดการเรียนรู้ตามแผนนั้นได้ก็สามารถปรับเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นได้ โดยไม่กระทบต่อ
การเรียนการสอนและผลการเรียนรู้
                   6. มีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ความเคลื่อนไหวต่างๆ  และสอดคล้องกับ
สภาพที่เป็นจริงที่ผู้เรียนดำเนินชีวิตอยู่
                   7. แปลความได้ตรงกัน แผนการจัดการเรียนรู้ที่เขียนขึ้นจะต้องสื่อความหมายได้
ตรงกัน เขียนให้อ่านเข้าใจง่าย กรณีมีการสอนแทนหรือเผยแพร่ ผู้นำไปใช้สามารถเข้าใจและใช้ได้
ตรงตามจุดประสงค์ของผู้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้
                   8. มีการบูรณาการ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี จะสะท้อนให้เห็นการบูรณาการแบบ
องค์รวมของเนื้อหาสาระความรู้และวิธีการจัดการเรียนรู้เข้าด้วยกัน
                   9. มีการเชื่อมโยงความรู้ไปใช้อย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้นำความรู้
และประสบการณ์เดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์ใหม่ และนำไปใช้ในชีวิตจริงกับการ
เรียนในเรื่องต่อไป
           การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
               ในการจัดทำแผนการเรียนรู้ ผู้สอนมีอิสระในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเองซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่อย่างไรก็ตามผู้สอนควรปฏิบัติตามนโยบายของโรงเรียนที่กำหนดรูปแบบไว้ว่าให้ใช้รูปแบบใด หากโรงเรียนไม่ได้กำหนดรูปแบบไว้จึงเลือกแบบที่ตนเองเห็นว่า สะดวกต่อการนำไปใช้ ซึ่งสรุปขั้นตอนการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ได้ดังนี้ (เอกรินทร์ สี่มหาศาล. 2545 : 441)
1.       เลือกรูปแบบแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แผนนั้นๆ
2.       ตั้งชื่อแผนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสาระการเรียนรู้แผนนั้นๆ
3.       กำหนจำนวนเวลา ระบุระดับชั้น และช่วงเวลาของหลักสูตรให้ชัดเจน
4.       วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ที่สอดคล้องและครอบคลุมกับผลการเรียนรู้         
ที่คาดหวังรายปี/รายภาคที่กำหนดไว้ ลงมือเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้รายวิชา
5.       เลือกจุดประสงค์การเรียนรู้ที่วิเคราะห์ตามข้อ 4 นำเฉพาะจุดประสงค์การเรียนรู้
หัวข้อเรื่อง และสาระการเรียนรู้ของแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อกำหนดเป็นจุดประสงค์ปลายทางตามธรรมชาติวิชาของแผนนั้นๆ
6.       วิเคราะห์รายละเอียดสาระการเรียนรู้ของแผนการเรียน เพื่อนำไปจัดการเรียนรู้ตามเนื้อหาสาระที่จำเป็นต้องสอน ให้ผู้เรียนเข้าใจ และเป็นมวลเนื้อหาที่สำคัญหรือจำเป็นต่อการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของหลักสูตร
7.       กำหนดจุดประสงค์นำทางตามลำดับความยากง่ายของเนื้อหานั้นๆ
8.       เลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและเทคนิควิธีการสอนที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของผู้เรียน
9.       เลือกสื่ออุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็น สำหรับใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผน เช่น รูปภาพ บัตรคำ วีดิทัศน์
10.กำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ โดยคำนึงถึงขั้นตอนการเรียนการสอนตามธรรมชาติวิชา ตามลำดับจุดประสงค์นำทาง และควรคำนึงถึงการบูรณาการเทคนิควิธีการสอนกระบวนการเรียนรู้ทั้งสาระการเรียนรู้อื่น ๆ ที่สอดคล้องกัน เพื่อเชื่อมโยงเข้าไว้ในแต่ละขั้นตอนของการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
11.กำหนดวิธีการวัดผลและประเมินผล  โดยระบุเครื่องมือและวิธีการประเมินผลการเรียน ทั้งที่เกิดขึ้นระหว่างเรียน ตามลำดับจุดประสงค์นำทางและที่เกิดขึ้นภายหลังการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามหลักสูตร


ประสิทธิภาพของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
           การหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  หมายถึง  การนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ (Try – out) คือ นำการนำไปทดลองใช้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้แล้วนำผลมาปรับปรุงแก้ไขและทดลองใช้จริง (Trail Run)  เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และคณะ. 2521 : 143)
การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ
               เกณฑ์ประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะช่วย
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ หากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพแล้ว แผนการจัดการเรียนรู้นั้น มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียนได้
                   การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้โดยการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน   2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่องและพฤติกรรมขั้นสุดท้าย โดยกำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น  E1  คือ  ประสิทธิภาพของกระบวนการ   E2 คือ  ประสิทธิภาพของผลลัพธ์  ซึ่งคิดเป็นร้อยละของผลเฉลี่ยของคะแนนที่ได้  ดังนั้น  E1/ E2  คือ  ประสิทธิภาพของกระบวนการ / ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ เช่น  80/80 หมายความว่า  เมื่อเรียนจากแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แล้วผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัดหรืองาน ได้ผลเฉลี่ยร้อยละ 80 และทำแบบทดสอบหลังเรียนร้อยละ 80 โดยปกติเนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำ มักจะตั้งไว้ 80/80 , 85/85 หรือ 90/90  ส่วนเนื้อหาที่เป็นทักษะมักจะต่ำกว่านี้ เช่น  75/75
           การหาประสิทธิภาพของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
               การหาประสิทธิภาพของผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หมายถึง การนำแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ แล้วนำผลที่ได้มาปรับปรุงเพื่อนำไปสอนจริงให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์กำหนด มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2537 : 479 - 498) ให้ความหมายของเกณฑ์ประสิทธิภาพผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
               เกณฑ์การหาประสิทธิภาพ หมายถึง ระดับประสิทธิภาพของแผนการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นระดับที่จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้จะพึงพอใจหากแผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นก็จะมีคุณค่า ที่จะนำไปสอนนักเรียน
               เกณฑ์การหาประสิทธิภาพ กำหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียนจะเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้เรียนทั้งหมด ต่อเปอร์เซ็นต์ของผลการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมดนั้น คือ  E1 / E2   คือประสิทธิภาพของกระบวนการ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
               การกำหนดเกณฑ์ E1 / E2    ให้มีค่าเท่าใด  ให้ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความเข้าใจ
           การหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
               เมื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สูงขึ้นต้องนำไปหาประสิทธิภาพแล้วนำไปปรับปรุงแก้ไขตามขั้นตอน ดังนี้
                   1. ขั้น 1:1 (แบบเดี่ยว)  คือ นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักเรียน  6 10 คน คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้
                   2. ขั้น 1 : 10 (แบบกลุ่ม) คือนำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้กับนักเรียน 6 10 คน คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น
                   3. ขั้น 1 : 100 (ภาคสนามหรือกลุ่มใหญ่) คือ นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้      ไปใช้กับนักเรียน 30 100 คน  คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น
               เกณฑ์ประสิทธิภาพมีหลายเกณฑ์ เช่น 75/75, 80/80, 90/90  จากการทดลอง                ผลปรากฎว่า เกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับวิชาที่ให้ความรู้ความจำ คือ 85 วิชาทักษะทางภาษา                  คือ 80 (เพียรจิต พันธุ์โอภาส. 2541 : 34)
               การหาประสิทธิภาพมีขั้นตอนการหาประสิทธิภาพ ดังนี้                               1. ทดลองกลุ่มที่ไม่ใช่ตัวอย่าง  ทั้งกับเด็กอ่อน ปานกลาง และเก่ง นำผลที่ได้คำนวณหาประสิทธิภาพเสร็จแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น ปกติคะแนนที่ได้จากการทดลองนี้จะมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาก
                   2. ทดลองสนาม คือ ทดลองกับนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง นำผลการทดลองที่ได้
คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วปรับปรุงให้สมบูรณ์อีกครั้ง  ผลลัพธ์ที่ได้ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ หากต่ำกว่าไม่เกินร้อยละ 2.5 ก็ยอมรับ  แต่ถ้าหากต่างกันมาก  ต้องปรับปรุงแผนการจัดกิจกรรม     การเรียนรู้ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ต่อไป
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
           งานวิจัยภายในประเทศ
                นรินทร์  กระพี้แดง (2542 : 63 - 82) ได้ทำการศึกษาผลของการเรียนร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์  ที่มีต่อทักษะการทำงานร่วมกันและสัมฤทธิ์ทางการเรียน  เรื่อง  ระบบประชาธิปไตย  ในรายวิชา ส 402 สังคมศึกษา  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน  จังหวัดขอนแก่น  จำนวน 59 คน  ผลการวิจัย  พบว่านักเรียนที่ได้รับ    การสอนโดยการเรียนร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์  มีทักษะการทำงานร่วมกันสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนตามปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
               ปิยะฉัตร  ขาวแก้ว (2542 : 53 - 74) ได้ทำการศึกษาผลของการเรียนร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ที่มีต่อทักษะการทำงานงานร่วมกันและสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ในรายวิชา  306 ประเทศของเรา 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีราชินูทิศ  อำเภอเมือง  จังหวัดอุดรธานี  ผลการวิจัย  พบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอน  โดยการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์  สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอน แบบปกติ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05     
    เยาวลักษณ์  พงศธรวิวัฒน์  (2547 : 36 -  61) ได้ศึกษาการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้
เรื่อง หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย วิชา หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย ส 021
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนกระเทียมวิทยา อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้
แบบร่วมมือ  จำนวน  60  คน  ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า  นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรม
การเรียนรู้จิกซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
               อารุณี  บุญยืน (2547 : 27 - 51) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 
จิกซอว์ เรื่อง  ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์  สาระสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์  อำเภอท่าตูม  จังหวัดสุรินทร์  จำนวน 40  คน  พบว่าแผนการจัดการเรียนรู้แบบจิกซอว์  ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.58/83.50 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบจิกซอว์  คิดเป็นร้อยละ 77 โดยสรุปว่า แผนการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นตามขั้นตอนอย่างมีระบบ  มีการวิเคราะห์หลักสูตร  สาระการเรียนรู้   ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  มีกิจกรรมเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอน  มีสื่อการเรียนรู้ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์จากการเรียนรู้ด้วยตนเองแล้ว  ยังทำให้นักเรียนเกิดความก้าวหน้าทางด้านการเรียนรู้เพิ่มขึ้นด้วย
               ณรงค์  สังข์มุรินทร์  (2549 : 36 - 55)  ได้ทำการวิจัยผลการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิคจิกซอว์ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดวิจิตรรังสรรค์ จังหวัดชัยนาท จำนวน  30  คนเป็นกลุ่มทดลอง และโรงเรียนวัดท่าโบสถ์ จังหวัดชัยนาท จำนวน  30  คน เป็นกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยพบว่า  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนแบบจิกซอว์ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค  จิกซอว์ในระดับมาก
               ปฐมพงษ์ บานฤทัย  (2549 : 80 108)  ได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Jigsaw) เรื่อง การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา  กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2  จำนวน  40  คน ผลการศึกษาพบว่า   การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเมืองการปกครองสมัยอยุธยา กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 93.25/91.42 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80  ค่าดัชนีประสิทธิผล เท่ากับ 0.8884 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนสูงขึ้นร้อยละ 88.84  มีเจตคติด้านความรักชาติ ความภูมิใจต่อชาติและการเมืองการปกครองสมัยอยุธยาซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากการศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองสมัยอยุธยา กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
               กมล ขวัญคุ้ม (2550 : 44 - 76)  ได้ศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Jigsaw)  เรื่อง การเมืองการปกครองกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 42 คน  ผลการศึกษาพบว่า   การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Jigsaw) เรื่อง การเมืองการ
ปกครอง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประ
สิทธิภาพเท่ากับ 85.20/87.08 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ค่าดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.8242 พฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก
               วีณา  บุญปัทม์ (2550 : 33 65)  ได้ศึกษาค้นคว้าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์ เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน  40  คน  ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์ เรื่องพัฒนาการของอาณาจักรสุโขทัยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.41/89.42 และดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.7589 หมายถึง  นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 75.89  และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพอใจต่อผลการเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบจิกซอว์ โดยรวมและเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
            
งานวิจัยต่างประเทศ
               ฮอลิเดย์ (Holliday. 1966 : abstract) ได้ศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และปฏิสัมพันธ์ร่วมกันที่มีความแตกต่างทางเชื้อชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เรียนวิชาสังคมศึกษา ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคจิกซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง มีปฎิสัมพันธิ์ทางการเรียนระหว่างกลุ่มดี ซึ่งส่งผลถึงความสัมพันธ์ทางด้านเชื้อชาติ และรักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน   
                 แมททิงลี , แวนซิคเคิล (Mattingly ; Vansickle. 1991 : abstract) ได้ทำการวิจัยการเรียนแบบร่วมมือ(จิกซอว์ 2) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาสังคมศึกษา โดยได้ทำการศึกษาวิจัยกับนักเรียนระดับ 9 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้สุ่มนักเรียนจำนวน 23 คน ให้ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือ (จิกซอว์ 2) และสุ่มนักเรียนอีก 22 คน ให้ได้รับการสอนแบบดั้งเดิม ผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนที่เรียนแบบจิกซอว์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
               สแตพกา (Stepka. 1999 : p.109 - A) ได้ศึกษาเปรียบเทียบการใช้วิธีการเรียนแบบจิกซอว์ กับวิธีเรียนแบบบรรยายในชั้นเรียนระดับอุดมศึกษาของวิทยาลัยชุมชนแห่งหนึ่ง เพื่อศึกษาสิ่งที่เหมือนกันของวิธีการทั้งสองแบบ และศึกษาว่ากลุ่มใดมีผลการปฎิบัติงานที่ดีกว่า ผลปรากฏว่านักศึกษากลุ่มที่ใช้วิธีการเรียนแบบจิกซอว์ มีค่าคะแนนสูงกว่ากลุ่มที่ใช้วิธีการเรียนแบบบรรยาย การประเมินทัศนคติเป็นรายบุคคลในมติกลุ่ม พบว่าการใช้วิธีการแบบจิกซอว์ มีทัศนคติเป็นไปในทางบวกมากกว่าการใช้วิธีการแบบบรรยาย
               เฉิน (Chen. 2004 : 57 - A) ได้ทำการวิจัยเรื่องการศึกษาผลกระทบของวิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางด้านวิชาการของนักเรียน  ในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ  ในวิทยาลัยแห่งหนึ่งของประเทศไต้หวัน  การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ 2 แบบที่นำมาใช้กับกลุ่มทดลองคือ  เทคนิคจิกซอว์และเทคนิค STAD ส่วนนักศึกษาในกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการแบบปกติ  ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาในกลุ่มทดลองมีผลคะแนนสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาในกลุ่มควบคุม  และกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาชายในกลุ่มที่ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  สามารถแสดงผลการปฏิบัติที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาชายในกลุ่มที่ใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ
                เวง (Wang. 2006 : abstract) ได้ศึกษาผลกระทบของการใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ     เทคนิคจิกซอว์  ที่มีต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาในสถาบันเทคโนโลยี Chung-Hwa Institute of Technology ประเทศไต้หวัน  โดยทำการศึกษาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาในสาขาวิชาเอกการบริหารธุรกิจ 77 คนจำนวน 2 ชั้นเรียน     ชั้นเรียนหนึ่งใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือเทคนิคจิกซอว์  อีกชั้นเรียนหนึ่งซึ่งใช้วิธีการสอนแบบเดิมตามปกติทั่ว ๆ ไป  ผลการวิจัยพบว่า  นักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือ  ปรากฏผลคะแนนจากแบบทดสอบปลายภาคในระดับที่สูงขึ้น  และผลคะแนนรวมที่มากกว่านักศึกษาที่ผ่านการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบเดิมตามปกติทั่ว ๆ ไป  และพบว่า  กลุ่มตัวอย่างของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบร่วมมือ  มีเจตคติในด้านบวกต่อการเรียนภาษาอังกฤษ  ซึ่งมีผลต่อการนำไปใช้ในการติดต่อสื่อสารกับคนที่ใช้ภาษาอังกฤษในการพูด  รวมทั้งยังมีเจตคติในด้านบวกต่อการเรียนรู้คำศัพท์ด้านการใช้เครื่องมือซึ่งเป็นภาษาอังกฤษมากกว่า  นักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบเดิมตามปกติทั่ว ๆ ไป    









บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน
1. กลุ่มที่ศึกษา
กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 3  โดยใช้การเรียนแบบร่วมมือในวิชาการตลาดเพื่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554  มีนักศึกษา จำนวน 21 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก ที่ใช้วิธีเรียนแบบร่วมมือ โดยใช้เวลาเรียน 3 คาบต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 3 สัปดาห์ รวมจำนวน 16 คาบ
2) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอก แบบเลือกตอบจำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบย่อยแบบเลือกตอบในแต่ละหัวข้อ
4) แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนของนักศึกษา
5) การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ
6) แบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มในการทำงานเป็นกลุ่ม

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ก่อนการวิจัย ให้นักศึกษาแต่ละคนเขียนชื่อเพื่อนที่นักเรียนอยากทำงานร่วมด้วย 3 คน ลงในกระดาษที่ผู้วิจัยแจก เพื่อทำแผนภาพสังคมมิติ ศึกษาความสัมพันธ์ของนักศึกษาในห้องเรียนก่อนการเรียนแบบร่วมมือ
2. นักศึกษาประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มเดิมก่อนการเรียนแบบร่วมมือ ในแบบประเมินการทำงานกลุ่ม ซึ่งแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การช่วยเหลือกลุ่ม ความรับผิดชอบ การแสดงความคิดเห็น และการรับฟังความ คิดเห็น โดยผู้ที่ได้คะแนนเฉลี่ยในช่วง 18-20 คะแนน ถือว่า มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มดีมาก ผู้ที่ได้คะแนนรวม เฉลี่ยในช่วง 15-17 คะแนน ถือว่า มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มดี และผู้ที่ได้คะแนนรวมเฉลี่ยในช่วง 12-14 คะแนน ถือว่า มีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มพอใช้ และผู้ที่ได้คะแนนรวมเฉลี่ยในช่วง 9-11 คะแนน ถือว่า ควรปรับปรุงการมี ส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม (ดัดแปลงจาก วรรณทิพา, 2538)
3. นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนเรื่องการตลาดเบื้องต้น จำนวน 20 ข้อใช้เวลา 15 นาที
4. ผู้วิจัยดำเนินการสอนตามขั้นตอนต่อไปนี้
4.1 จัดทำคะแนนฐานของนักศึกษาแต่ละคน โดยเป็นคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาในการสอบกลางภาค การสอบย่อยก่อนกลางภาค ที่ผ่านมา แล้วแบ่งกลุ่มนักศึกษากลุ่มละ 5 คน แบบคละเพศ และความสามารถ
4.2 จัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้เทคนิคการเรียนแบบร่วมมือโดยเน้นรูปแบบการต่อบทเรียน (Jigsaw) และการศึกษาค้นคว้าเป็นกลุ่ม (Group Investigation) โดยชี้แจงให้กลุ่มเข้าใจ เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงาน เกณฑ์การประเมินผลงาน และให้นักเรียนบอกถึงความสำคัญและวิธีการทำงานร่วมกัน
4.3 นำเสนอผลรายงานหน้าชั้นเรียนทั้งหมด 3 ครั้ง ซึ่งมีคะแนนรวมในแต่ละครั้ง 10 คะแนน หลังจากนักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียนผู้วิจัยให้คำแนะนำเพิ่มเติม และนำอภิปรายเพื่อให้นักศึกษาสรุปความรู้จากการทำกิจกรรม

5. เมื่อสอนจบในหัวข้อต่างๆ ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบย่อยท้ายคาบ 10 นาที ซึ่งแต่ละหัวข้อคะแนนเต็ม 10 คะแนน และนำคะแนนของนักศึกษาที่ได้มาเทียบเป็นคะแนนพัฒนาการ (Improvement Points) ของแต่ละคน ซึ่งหาได้จากความแตกต่างระหว่างคะแนนฐาน กับคะแนนที่นักเรียนสอบได้ในการทดสอบย่อย (ถ้าต่ำกว่าคะแนนฐานมากกว่า 3 คะแนน จะได้คะแนนพัฒนาการ 0 คะแนน ถ้าต่ำกว่าคะแนนฐานตั้งแต่ 1-3 คะแนนจะได้คะแนนพัฒนาการ 10 คะแนน ถ้าได้เท่าคะแนนฐาน ถึง มากกว่าคะแนนฐานตั้งแต่ 1-3 คะแนนจะได้คะแนนพัฒนาการ 20 คะแนน ถ้าได้มากกว่าคะแนนฐาน 3 คะแนนขึ้นไปจะได้คะแนนพัฒนาการ 30 คะแนน ถ้าได้คะแนนเต็มโดยไม่พิจารณาคะแนนฐาน จะได้คะแนนพัฒนาการ 30 คะแนน) ส่วนคะแนนของกลุ่ม ได้จากการรวมคะแนนพัฒนาการของนักเรียนทุกคนในกลุ่มเข้าด้วยกันแล้วหาค่าเฉลี่ย (ดัดแปลงจาก วรรณทิพา, 2538)
6. สุ่มสัมภาษณ์นักศึกษาแต่ละกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการเรียน และการทำงานกลุ่ม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวม 3 ครั้ง
7. หลังจากผู้วิจัยสอนครบทุกหัวข้อ นักศึกษาทำแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน ใช้เวลา 15 นาที


4. การวิเคราะห์ข้อมูล
1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการสอบก่อนและหลังเรียนจะพิจารณาว่าจำนวนนักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 ของจำนวนข้อสอบทั้งหมดมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือไม่ และวิเคราะห์ค่าความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป 
2. การปฏิบัติการทดลองและการนำเสนอผลงานหน้าชั้นของนักศึกษา จะพิจารณาคะแนนรวมของนักศึกษาแต่ละกลุ่มว่ามีคะแนนสูงขึ้นหรือไม่
3. การทดสอบย่อยในแต่ละคาบเรียน ใช้คะแนนพัฒนาการของนักศึกษา แต่ละคนเฉลี่ยเป็นคะแนนของกลุ่มว่ามีคะแนนสูงขึ้นหรือไม่
4. ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยอ่านข้อความที่บันทึกไว้แล้วจัดกลุ่มคำตอบ
5.ข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่มก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือ ผู้วิจัยหาคะแนนเฉลี่ยรวมของนักศึกษาทุกคนในแต่ละด้าน แล้วนำคะแนนที่ได้มาพิจารณาในแต่ละด้านว่ามีคะแนนสูงขึ้นหรือไม่
6. ข้อมูลการเลือกเพื่อน 3 คน เพื่อทำงานด้วยทั้งก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือ นำมาเขียน
แผนภาพสังคมมิติ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนในห้องเรียนก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือ

5. ผลและวิจารณ์
1. ผลการวิจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้วิจัยแบ่งการนำเสนอผลการวิจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกออกเป็น 3ส่วน ดังนี้
1) คะแนนก่อนและหลังเรียน
2) คะแนนการการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
3) คะแนนพัฒนาการเฉลี่ยจากการทดสอบย่อย

1.1 คะแนนก่อนและหลังเรียน
Table 1 : Comparison of pretest and posttest scores on “Reproduction of Flowering Plants”
** P < .01

จากตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่า นักเรียนได้คะแนนทดสอบก่อนเรียนโดยเฉลี่ย 8.05 คะแนน และคะแนน  ทดสอบหลังเรียนโดยเฉลี่ย 13.26 คะแนน โดยมีจำนวนนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 50 จำนวนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนจาก 8 คนเป็น 43 คน ซึ่งคะแนนก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
1.2 คะแนนปฏิบัติการทดลองและการนำเสนอผลงานของนักเรียน
จากการปฏิบัติการทดลองและการนำเสนอผลงานของนักเรียนเฉลี่ยท้ายคาบเรียน 6 ครั้ง ซึ่งในแต่ละครั้งมีคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยแบ่งเป็นคะแนนจากการปฏิบัติการทดลอง 5 คะแนน และคะแนนจากการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 5 คะแนน พบว่านักเรียนได้คะแนนในแต่ละครั้งสูงขึ้นตามลำดับดังนี้ 7.89, 8.55, 8.67,9.00, 9.00, และ9.56 ผู้วิจัยพบว่าจากการประกาศคะแนนปฏิบัติการทดลองและการนำเสนอผลงานหน้าชั้นให้นักเรียนทราบ พร้อมกับให้คำชมเชยกับกลุ่มที่มีคะแนนสูงสุด จึงทำให้นักเรียนมีการวางแผนการทำงานร่วมกันในกลุ่มมากขึ้น ซึ่งสังเกตได้จาก การปฏิบัติการทดลองในแต่ละคาบ นักเรียนแต่ละกลุ่มปฏิบัติตามคำชี้แจงได้
Range of
scores
Below
50%
50-
59%
60-
69%
70-
79%
80%
Up
Total X S.D. t
Pretest 35 2 3 3 0 43 8.05 2.61
Posttest 0 1 18 18 6 43 13.26 2.28
-11.52**
ถูกต้อง ใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดเก็บอุปกรณ์ได้อย่างถูกวิธี บันทึกผลการทดลอง และการนำเสนอข้อมูล ด้วยความพิถีพิถัน การวิเคราะห์ผลการทดลองและตีความหมายข้อมูล ด้วยความมั่นใจและนำไปสู่ข้อสรุปที่เที่ยงตรง มีทักษะการเขียนรายงานที่ดีขึ้น โดยจัดลำดับหัวข้อรายงานด้วยความเป็นระเบียบ และนักเรียนก็สามารถนำประเด็นสำคัญๆ มานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนได้อย่างครบถ้วนและพัฒนาขึ้นตามลำดับ


1.3 คะแนนการทดสอบย่อยเรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอก
จากการสอบย่อยเรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอกทั้ง 6 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งจะมีคะแนนเต็ม 30 คะแนน พบว่าคะแนนพัฒนาการของทุกกลุ่มเฉลี่ยเท่ากับ 19.33, 19.00, 18.78, 19.22, 17.50 และ20.17 ตามลำดับ ผู้วิจัยพบว่าการประกาศคะแนนทดสอบย่อยในแต่ละครั้งให้นักเรียนทราบ และหากนักเรียนได้คะแนนน้อยก็จะมีผลต่อคะแนนของกลุ่มด้วย ทำให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนในห้องเรียนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสังเกตได้จากการซักถามข้อสงสัยในชั้นเรียนมากขึ้น การศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลมาล่วงหน้า การร่วมมือกันปฏิบัติการทดลองและรายงานผลการทดลอง นอกจากนี้เมื่อมีการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนนักเรียนจะตั้งใจฟังเพื่อน ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ ในห้อง และตั้งประเด็นอภิปรายที่ตนสงสัย จึงทำให้นักเรียนมีคะแนนทดสอบในแต่ละหัวข้อโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้นตามลำดับ

2. ผลการวิจัยด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ผู้วิจัยแบ่งการนำเสนอผลการวิจัยด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่นออกเป็น 3 ด้านดังนี้ 1) สังคมมิติของนักเรียนก่อนวิจัยและหลังการวิจัย 2) ผลการประเมินตนเองและเพื่อนในการทำงานเป็นกลุ่ม 3) ผลการสำรวจเจตคติต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยการสัมภาษณ์
2.1 สังคมมิติของนักเรียนก่อนและหลังการเรียนแบบร่วมมือ
จากการเขียนแผนภาพสังคมมิติแสดงการเลือกเพื่อนทำงานด้วยก่อนการเรียนแบบร่วมมือ พบว่า โครงสร้างทางสังคมในห้องนี้แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 9 กลุ่ม มีลักษณะคล้ายกับการนั่งเรียนในห้องเรียนตามกลุ่มเพื่อนที่ตนสนิท จากการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการพบว่า ผู้ที่มีเพื่อนนิยมมากจะเป็นนักเรียนที่มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีมาก มีมนุษยสัมพันธ์ดี เข้ากับคนอื่นได้ง่าย และช่วยเหลือกิจกรรมของชั้นเรียนอยู่เสมอ ส่วนนักเรียนที่ไม่ถูกผู้อื่นเลือกเลยจำนวน 1 คนนั้นเป็นนักเรียนที่เพิ่งย้ายมาเรียนใหม่ และถูกผู้ปกครองบังคับให้เรียนในสาขาที่ตนไม่ชอบจึงขาดเรียนบ่อย ไม่ค่อยมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย และไม่ค่อยพูดคุยกับเพื่อนในห้องส่วนแผนภาพสังคมมิติแสดงการเลือกเพื่อนทำงานด้วยหลังการเรียนแบบร่วมมือ พบว่า โครงสร้างทางสังคมในห้องนี้มีความสัมพันธ์กันดีขึ้นกว่าก่อนการเรียนแบบร่วมมือ เนื่องจากมีลักษณะการเลือกเพื่อนมีลักษณะกระจาย ซึ่งมีการเลือกเพื่อนต่างกลุ่มมาทำการทดลองมากขึ้น ไม่ใช่มีลักษณะเลือกกลุ่มเพื่อนสนิทเหมือนก่อนการเรียนแบบร่วมมือ แสดงว่านักเรียนเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีผู้ไม่ถูกเพื่อนเลือกเลยมีจำนวน 3 คน เนื่องจากผู้ที่ไม่ถูกเลือกในครั้งนี้ ถูกจัดกลุ่มแยกกับเพื่อนที่ตนสนิท และไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนกลุ่มใหม่และวิธีการเรียนแบบร่วมมือได้ แต่โดยรวมนักเรียนในห้องนี้มีความสัมพันธ์กันดีขึ้น ทั้งเพศชายและเพศหญิงสามารถทำงานร่วมกันได้ และมีผู้ที่ได้รับความนิยมจากเพื่อนมากมีจำนวนเพิ่มขึ้น เนื่องจากนักเรียน มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี จึงสร้างความประทับใจให้เพื่อนร่วมงานที่ตนไม่เคยสนิทมาก่อน จึงได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ส่วนผู้ไม่ถูกเลือกเลยจากครั้งก่อนการเรียนแบบร่วมมือนั้น สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น เพื่อนจึงเลือกให้เข้าทำงานกลุ่มในที่สุด

          2.2 ผลการประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มในการทำงานเป็นกลุ่ม
Table 2 : Comparison of pretest and posttest scores of self and peer evaluation in working groups
จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นว่าก่อนการเรียนแบบร่วมมือนักเรียนมีคะแนนรวมจากการประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มทุกๆด้านเฉลี่ยเท่ากับ 18.65 และหลังจากเรียนแบบร่วมมือแล้วกลับไปทำงานร่วมกับเพื่อนกลุ่มเดิมพบว่า นักเรียนมีคะแนนรวมจากการประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่มทุกๆด้านเฉลี่ยเท่ากับ 19.91 ซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกๆด้าน แสดงว่านักเรียนได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นจากเพื่อนกลุ่มใหม่ที่ผู้วิจัยจัดให้ และนำมาปรับใช้กับการทำงานร่วมกับเพื่อนกลุ่มเดิมได้ดีขึ้นและอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

2.3 ผลการสำรวจเจตคติต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยการสัมภาษณ์
จากการสุ่มสัมภาษณ์นักเรียนแต่ละกลุ่มอย่างไม่เป็นทางการ พบว่านักเรียนพอใจกับวิธีการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งมีกิจกรรมที่สนุกมากกว่าการเรียนแบบเดิมตามหนังสือ หากไม่เข้าใจเนื้อหาตรงไหนก็สามารถสอบถามจากเพื่อนผู้รู้ และได้คำตอบที่เข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีการทดสอบท้ายคาบเรียน ถ้าไม่ตั้งใจเรียนก็จะทำให้คะแนนของกลุ่มไม่ดี การเรียนแบบนี้ยังช่วยให้การทำงานต่างๆเป็นไปอย่างมีระบบ คือ มีการมอบหมายงานที่ชัดเจนมากขึ้นทำให้งานในกลุ่มสำเร็จตามเวลาที่กำหนด และเป็นการสอนที่ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างไรนักเรียนบางคน ยังคงชอบการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม เพราะคิดว่าการเรียนแบบร่วมมือนั้นใช้เวลามาก ส่วนการเรียนแบบเดิมนั้นอาจารย์จะคอยอธิบายประเด็นสำคัญๆ ทำให้ได้รับเนื้อหาครบถ้วนและถูกต้องกว่า


สรุป
จากผลการวิจัยดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนแบบร่วมมือสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนในวิชาชีววิทยา เรื่องการสืบพันธุ์ของพืชดอก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สอดคล้องกับงานวิจัยของดาวคลี่ (2543) ที่ศึกษาเปรียบเทียบการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในกรุงเทพมหานคร ที่เรียนจากการประยุกต์รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือกับการเรียนแบบปกติ พบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการคิด มีความรับผิดชอบ มีทักษะกระบวนการกลุ่ม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการเรียนแบบปกติ ส่วนแพรวพรรณ์ (2544) ได้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ทักษะความร่วมมือในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ในจังหวัดนครราชสีมา ที่สอนด้วยการเรียนแบบร่วมมือพบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีเจตคติต่อเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนเรียนและสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดจำนวนมากกว่าก่อนเรียน Back (1993 อ้างถึงใน สุวิมล, 2542) ที่สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือจำนวน 73 เรื่อง พบว่าการเรียนแบบร่วมมือช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์









scores
Participation
( 5 points)
Responsibility
( 5 points)
Sharing the
ideas altogether
( 5 points)
Acceptance of ideas of others
( 5 points)
Total
( 20 points)

X
S.D
X
S.D.
X
S.D.
X
S.D.
X
S.D.
Pretest
4.69
0.82
4.60
0.84
4.70
0.75
4.67
0.75
18.65
3.09
Posttest
4.99
4.26
4.96
9.00
4.97
5.88
4.99
5.16
19.91
19.47

ทางการเรียนของนักศึกษา และมีประสิทธิภาพมาก ส่วน Theodora De Baz (2001) ได้ศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือรูปแบบการต่อบทเรียน (Jigsaw) ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติทางการเรียนการสอน โดยเปรียบเทียบกับการสอนแบบดั้งเดิมของนักศึกษา ในประเทศจอร์แดนเรื่องสิ่งมีชีวิต พบว่านักเรียนที่เรียนแบบร่วมมือมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบดั้งเดิม
นอกจากนี้การเรียนแบบร่วมมือยังเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น โดยกระตุ้นให้นักศึกษา มีการช่วยเหลือกลุ่มอย่างเต็มความสามารถ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย แสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มด้วยเหตุผล และรับฟังความคิดเห็นด้วยใจที่เป็นกลางดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดสอดคล้องกับวรรณทิพา (2538); Johnson, Johnson and Hobulec (1991); Slavin (1995) ที่พบว่าการเรียนแบบร่วมมือ สามารถกระตุ้นให้นักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และพัฒนาทักษะทางสังคมและทักษะการร่วมมือในช่วยกันทำงานจนงานสำเร็จข้อเสนอแนะสำหรับอาจารย์ผู้สอน
1. ผู้สอนควรอธิบายขั้นตอนต่างๆ ในการจัดการเรียนแบบร่วมมือให้ชัดเจนก่อนให้นักศึกษาลงมือทำ เพื่อนักศึกษาจะได้วางแผนการทำงานในกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผู้สอนควรควบคุมการจัดการเรียนการสอนให้อยู่ในเวลาที่กำหนด
3. ผู้สอนควรกระตุ้นให้นักศึกษา ศึกษาค้นคว้าเนื้อหามาก่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะทำความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนในห้องได้ง่ายขึ้น






เอกสารอ้างอิง

ดาวคลี่ ศิริวาลย์. 2543. ผลการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนจากการประยุกต์ รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
แพรวพรรณ์ พฤกษ์ศรีรัตน์. 2544.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ ศึกษาความร่วมมือใน การทำงานและสภาพแวดล้อมในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่สอนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ. กรุงเทพฯ : วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณทิพา รอดแรงค้า. 2538. การเรียนแบบร่วมมือ. สาระการศึกษา. กองทุนศาสตราจารย์ ดร.อุบล เรียงสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุวิมล เขี้ยวแก้ว สุเทพ สันติวรานนท์ และอุสมาน สารี. 2542. ผลของการเรียนแบบร่วมมือต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 5 (1) : 76-93.
Johnson, D.W., Johnson, R.T. and Hobulec, E.J. 1991. Cooperation in Classroom. Minnesota : Interaction Book Company.
Slavin, R.E. 1985. Cooperative Learning Theory, Research and Pratice. 2 nd ed. Massachusetts : A Simon & Schuster Company.
Theodora De Baz. 2001. The Effectiveness of the Jigsaw Cooperative Learning on
Students’Achievement and Attitudes toward Science. Science Education International 12
6-11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น